แหล่งที่มา:www.sisaket.go.th
th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดศรีสะเกษ
วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สถาบันการศึกษาในจังหวัดของฉัน
การศึกษา
จังหวัดศรีสะเกษ มีสถานศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 1,032 แห่ง แบ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 972 แห่ง (สพฐ. 914 แห่ง, เอกชน 28 แห่ง, อาชีวศึกษา 6 แห่ง, กศน. 22 แห่ง, สกอ. 2 แห่ง) และสถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 53 แห่ง (สธ 1 แห่ง, อปท. 39 แห่ง, ตชด. 1 แห่ง, พศ. 10 แห่ง, สพล. 2 แห่ง)
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดศรีสะเกษ
- ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก ศรีสะเกษ
- สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ ศูนย์วัดสระกำแพงใหญ่
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาศรีสะเกษ
- มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
- มหาวิทยาลัยปทุมธานี ศูนย์ขุขันธ์
- มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ศูนย์กันทรลักษ์
- สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนศรีสะเกษ
|
|
|
หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอมกระเทียมเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัค
การคมนาคม
จากกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางไปยังจังหวัดศรีสะเกษได้ดังนี้
- โดยรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มาลงที่สถานีศรีสะเกษ ระยะทาง 515.09 กิโลเมตร
- โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงทางแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่กิโลเมตรที่ 107 แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถึงจังหวัดนครราชสีมา แยกทางขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์จึงถึงจังหวัดศรีสะเกษ รวมระยะทาง 571 กิโลเมตร
- โดยรถโดยสารประจำทาง สามารถเดินทางจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มาลงที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดศรีสะเกษได้โดยตรง
- โดยเครื่องบิน สามารถเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศมายังท่าอากาศยานอุบลราชธานี และเดินทางต่อมายังจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยระยะทางอีกประมาณ 60 กิโลเมตร
นอกจากนั้น สามารถเดินทางจากตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษไปยังอำเภอต่างๆภายในจังหวัดและไปยังตัวเมืองของจังหวัดใกล้เคียง โดยทางรถยนต์ด้วยระยะทาง ดังนี้
|
|
|
แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์
แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์
บริเวณที่ตั้งของจังหวัดนี้เคยเป็นอู่วัฒนธรรมโบราณ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตอนปลาย จนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ได้แก่วัฒนธรรมทวารวดี,อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ,ล้านช้าง, อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านหลุบโมก ตำบลเมืองคงอำเภอราษีไศล พบร่องรอยเมืองโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบสองชั้น ภายในเมืองมีซากโบราณสถานและใบเสมาอันแสดงถึงร่องรอยการนับถือพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังพบปราสาทและปรางค์กู่อีกหลายแห่ง โดยเป็นศิลปะเขมรราวพุทธศตวรรษที่ 13-17 รวมทั้งชุมชนเขมรโบราณ เช่น แหล่งโบราณคดีในเขตปราสาทสระกำแพงใหญ่ ซึ่งอยู่รอบๆบารายหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชนเขมรโบราณใน อำเภออุทุมพรพิสัย, แหล่งโบราณคดีบ้านหัวช้าง อำเภอไพรบึง ซึ่งพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาชนิดเนื้อแกร่ง ตกแต่งผิวด้วยการเคลือบสีน้ำตาล ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะ
โบราณสถานที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากร ได้ดำเนินการสำรวจและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ได้แก่
สถานที่น่าเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)